วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ความคิดเห็น VDO ลิงก์

เพราะสามารถเข้าไปหาความรู้ใน google ทำให้รู้ความจริงว่าผีดิบมีจริง

งานOPAC

http://www.mediafire.com/?9t99wclw85cd6t8

งาน e-book

http://www.ebook.com/ebooks/Childrens/The_Dragonfly_Door

http://www.ebook.com/ebooks/Childrens/Lucy_Goosey

ข่าวสารประ จำสปดาห์ที่ 11

ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยในบล็อก Google Books พร้อมทั้งอธิบายเบื้องหลังวิธีนับให้ทราบด้วย โดยทางบริษัทเริ่มต้นด้วยการนิยามสิ่งที่เรียกว่า "หนังสือ" ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบทความ ผลงานลักษณะต่างๆ และรูปแบบของงานเขียนที่ปรากฎในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ จากนั้นระบบจะลบข้อมูลที่ซ้ำกันออก โดยใช้"ข้อมูล"ของข้อมูล (metadata) จากห้องสมุดต่างๆ และแคตะล็อกที่มีการคัดกรองจากพันล้านรายการเหลือ 600 ล้านรายการไม่ซ้ำกัน นอกจากนี้ยังมีการลดข้อมูลซ้ำด้วยอัลกอริธึมที่สามารถแยกแยะหนังสือที่ชื่อ ปกต่างกัน แต่เนื้อในเหมือนกันได้อีกด้วย ซึ่ง Google ยังคงปรับปรุงอัลกอริธึมของการทำงานให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แน่นอนว่า แต่ละครั้งของการนับก็จะได้คำตอบที่แตกต่างไปจากเดิมด้วย
"คำ ตอบเปลียนทุกครั้งที่มีการคำนวณใหม่ เนื่องจากการได้รับข้อมูลใหม่ที่มากกว่าเดิม เพื่อเข้าไปปรับปรุงอัลกอริธึม ซึ่งตัวเลขล่าสุดทีได้จากการใช้อัลกอริธึมดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 210 ล้านไตเติล" Google กล่าว อย่างไรก็ดี หลังจากเพิ่มอัลกอริธึมการลบข้อมูลซ้ำของหนังสือที่บันทึกในฟอร์แมตขนาดเล็ก เช่นไมโครฟิล์ม และแผนที่ออกไปตัวเลขที่ได้ล่าสุดอยู่ที่ 129,864,880 ไตเติ้ล ซึงในการกลไกการนับยังเลือกที่จะไม่ใช้หมายเลข serial ด้วย เนื่องจากมันทำให้ได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง เหตุเพราะแต่ละสถาบันจะมีการทำตัวเลขนี้แตกต่างกันไป Google ค่อนข้างมั่นใจว่า ตัวเลขล่าสุดคือ จำนวนไตเติ้ลของหนังสือทั้งหมดที่มีการตีพิมพ์ทั่วโลก สำหรับการนับจำนวนหนังสือทั้งโลกในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กต์ Google Books ที่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของผู้ถือครอง โดยเฉพาะเมื่อมันถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิตอลที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ไปเผย แพร่ได้ ตราบใดที่ Google ไม่สามารถอธิบายต่อศาลได้ว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร อีกทั้งโปรเจ็กต์ดังกล่าวยังเสี่ยงต่อการผูกขาดการค้าอีกด้วย
ที่มา http://news.itmoamun.com/update/546/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A5-.html

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10 google books

อนาคตของ Google Books
ข้อตกลงของเราร่วมกับผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน


เมื่อสามปีที่แล้ว The Authors Guild สมาคมผู้จัดพิมพ์แห่งอเมริกา ร่วมด้วยผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์จำนวนหนึ่งได้ฟ้องคดี Google Books ในนามกลุ่มบุคคล

วันนี้ เรามีความยินดีที่จะประกาศว่า เราได้ตกลงระงับคดีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทางด้านอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อนำหนังสือทั่วโลกมาเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น จากความร่วมมือดังกล่าว ทำให้เราบรรลุผลที่เกินกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะดำเนินการได้เพียงลำพัง คือการรักษาผลประโยชน์ของผู้แต่ง ผู้จัดพิมพ์ ผู้วิจัย และผู้อ่านอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาบ้างเพื่อให้ศาลอนุมัติและได้ข้อสรุปในขั้นสุดท้าย ณ ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เรานำมาแจ้งไว้คร่าวๆ นี้ จึงเป็นสิ่งที่เราหวังว่า คุณจะได้เห็นในอีกไม่ช้า
ที่มาhttp://books.google.com/intl/th/googlebooks/agreement/

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับเกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Searchทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search


เหรอ….สาเหตุก็มาจาก :-ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้นแต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุดแต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหนและนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Googleเวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูลรวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริงGoogle Book Search - http://books.google.com/เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลายกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุดแต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้นคนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้นGoogle คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ที่มาhttp://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=14549.0