วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับเกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Searchทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search


เหรอ….สาเหตุก็มาจาก :-ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้นแต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุดแต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหนและนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Googleเวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูลรวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริงGoogle Book Search - http://books.google.com/เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลายกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุดแต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้นคนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้นGoogle คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ที่มาhttp://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=14549.0

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

หลังจาก Google Books/Book Search เผชิญแรงต้านจากสำนักพิมพ์อย่างต่อเนื่อง จนต้องยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้บรรดาสำนักพิมพ์ ตอนนี้กูเกิลกลับมาพร้อมกับแผนใหม่ที่ประนีประนอมกับสำนักพิมพ์มากกว่าเดิม แผนใหม่นี้คือเปิดเป็นร้านขาย e-Book แล้วแชร์รายได้กับสำนักพิมพ์มันเสียเลยร้านหนังสือออนไลน์นี้ชื่อว่า Google Editions ความต่างกับร้าน e-Book ในท้องตลาดอย่าง Amazon หรือ Barnes & Noble คือกูเกิลจะทำตัวเป็นทั้งร้านขายปลีกและขายส่งครับกรณีของร้านขายปลีก ลูกค้าเข้าไปซื้อหนังสือได้จากเว็บของกูเกิลโดยตรง รายได้จะถูกกูเกิลหักไป 37% ส่วนที่เหลือ 63% เข้าสำนักพิมพ์หรือเจ้าของหนังสือ กรณีขายส่ง กูเกิลจะทำตัวเป็นแหล่งเก็บหนังสือต้นทาง แล้วให้ร้านขายปลีก (เช่น Amazon) หรือเครื่องอ่าน e-Book (เช่น Sony) เอาหนังสือไปขายต่อได้ แบบนี้รายได้เข้าสำนักพิมพ์ 45% อีก 55% จะแบ่งกันระหว่างร้านขายปลีกกับกูเกิล ซึ่งกูเกิลบอกว่าขอกินส่วนแบ่งนิดเดียว Google Editions เปิดตัวต้นปี 2010 ระยะแรกจะมีหนังสือประมาณ 5 แสนเล่ม ยินดีเปิดรับผู้ขายปลีกทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Kindle, iPhone, Amazon, Barnes & Noble (แต่เจ้าไหนจะเอาด้วยบ้างยังไม่มีข้อมูล) กูเกิลบอกว่าตัวเองจะไม่ลงไปลุยในตลาดเครื่องอ่าน e-Book ทำตัวเป็นคนขายหนังสืออย่างเดียว ประเด็นเรื่อง DRM ยังไม่มีความชัดเจนครับ
ที่มา http://www.2poto.com/component/option,com_kunena/Itemid,140/catid,15/func,view/id,2366/

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

มีรายงานข่าวล่าสุดว่า Google เตรียมเปิดหน้าร้าน E-Book ใหม่ชื่อว่า Google Editions ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนศกนี้ โดยคาดว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการขยายทางเลือกใหม่ให้กับเหล่าผู้ผลิตและ จำหน่ายหนังสือประเภทดิจิตอลที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่Google ได้วางแผนเปิดร้านหนังสือ E-Book Online นั้น เท่ากับเป็นการเปิดศึกกับคู่แข่ง ในตลาดที่เปิดตัวก่อนหน้านี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Barnes & Noble และ Apple ที่เพิ่งเปิดตัวiBook บน iPad ซึ่ง การให้บริการของ Google Editions จะเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้เปิดอ่าน E-Book บนบราวเซอร์เป็นหลัก ซึ่งข้อดีของเรื่องนี้ก็คือ สามารถจัดการ DRM ได้ง่าย หรืออ่านผ่านแอพพลิเคชันทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น และ Google Editions จะสามารถทำงานได้ทั้งบน iPad, E-Reader หรือสมาร์ทโฟนอย่าง HTC Droid Incredible ตลอดจน Notebook

ที่มา http://beta.i3.in.th/content/view/2542

e-Journal

http://www.mediafire.com/?pm84o56r7orbksn

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งงาน e-books

http://e-bookmarket.com/index.php?keyword=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E&page=results&filetype=doc

http://e-bookmarket.com/index.php?keyword=%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E&page=results&filetype=doc&x=0&y=0

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6 google books

ไมโครซอฟท์ และยาฮูรวมตัวสู้กับ Google Books แต่อเมซอนยังสงวนท่าที


อเมซอน ไมโครซอฟท์ และยาฮูเตรียมเข้าร่วมกับ Open Book Alliance ซึ่งมีหน่วยงานที่จัดสร้างและดูแลห้องสมุดดิจิตอลออนไลน์โดยไม่หวังผลกำไรอย่าง Internet Archive เป็นแกนนำ ซึ่งเป็นความพยายามในป้องกันการผูกขาดการค้นหาหนังสือดิจิตอลออลไลน์อย่าง Google Books
ในขณะนี้ได้มีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นพันธมิตรแล้วหลายราย รวมถึงไมโครซอฟท์และยาฮู แต่ทางอเมซอนยังสงวนท่าทีเนื่องจาก Open Book Alliance ยังไม่ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สำหรับวันสิ้นสุดการตอบรับการร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าวคือวันที่ 4 ก.ย.ที่จะถึงนี้
นอกจากนั้น ในขณะนี้กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ กำลังดำเนินการสืบสวนการลงทุนของกูเกิล ในประเด็นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์เป็นจำนวนเงินสูงถึง 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รวมถึงประเด็นที่กูเกิลจะแบ่งส่วนแบ่งการขายหนังสือกับผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์ ว่าขัดกับกฏการป้องกันการผูกขาดหรือไม่ (ดูข่าวเก่า)
คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะ Google Books จะกระเทือนหรือเปล่า...

ที่มาhttp://www.blognone.com/node/12814

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5 google books

Google ไม่ยอมน้อยหน้าคู่แข่ง เตรียมเปิด E-Book Store Online เร็วๆนี้


มีรายงานข่าวล่าสุดว่า Google เตรียมเปิดหน้าร้าน E-Book ใหม่ชื่อว่า Google Editions ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนศกนี้ โดยคาดว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการขยายทางเลือกใหม่ให้กับเหล่าผู้ผลิตและ จำหน่ายหนังสือประเภทดิจิตอลที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่ Google ได้วางแผนเปิดร้านหนังสือ E-Book Online นั้น เท่ากับเป็นการเปิดศึกกับคู่แข่ง ในตลาดที่เปิดตัวก่อนหน้านี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Barnes & Noble และ Apple ที่เพิ่งเปิดตัว iBook บน iPad ซึ่ง การให้บริการของ Google Editions จะเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้เปิดอ่าน E-Book บนบราวเซอร์เป็นหลัก ซึ่งข้อดีของเรื่องนี้ก็คือ สามารถจัดการ DRM ได้ง่าย หรืออ่านผ่านแอพพลิเคชันทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น และ Google Editions จะสามารถทำงานได้ทั้งบน iPad, E-Reader หรือสมาร์ทโฟนอย่าง HTC Droid Incredible ตลอดจน Notebook


ที่มาhttp://beta.i3.in.th/content/view/2542

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานประจำสัปดาห์ที่ 4 google books

กูเกิลยอมจำนน จ่ายค่าหนังสือใน Google Book Search ให้สำนักพิมพ์

บริการ Google Book Search ที่กูเกิลทำการสแกนหนังสือในห้องสมุดเอามาเก็บไว้ในเว็บที่เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 4 ปีนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นบริการที่ดีสำหรับผู้ใช้ แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาคดีความกับสำนักพิมพ์ต่างๆ มานานแล้ว (ข่าวเก่า) ในวันนี้กูเกิลออกมาจำนนยอมจ่ายเงินค่าหนังสือทั้งหมดให้กับสำนักพิมพ์ทั้งหลาย
เงินจำนวนดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้หนังสือทั้งหมดสามารถอยู่ใน Google Book Search ได้ต่อไป ในข้อตกลงกับบริษัทหนังสือ กูเกิลยังจะสามารถขายหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้หนังสือที่หาซื้อฉบับจริงไม่ได้ สามารถที่จะซื้อแบบออนไลน์ได้ด้วย นอกจากนี้ห้องสมุดต่างๆ ยังสามารถที่จะซื้อหนังสือฉบับเต็มทั้งหมดที่อยู่บน Google Book Search แบบออนไลน์เพื่อให้สมาชิกห้องสมุดเข้าชมได้ด้วย
"บริษัทนี้ (กูเกิล) ตั้งมาเพื่อทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว" Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิลกล่าว
อย่างไรก็ดีข้อตกลงการขายหนังสือนี้อาจไม่รวมถึงประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา แต่กูเกิลก็กำลังพิจารณาขยายไปยังประเทศอื่นๆ ครับ (ผมคิดว่าน่าจะถึงประเทศไทยด้วย.. จะได้ไม่ต้องแบก textbook หรือดาวน์โหลด pdf แบบเถื่อนๆ ต่อไป) ที่มาhttp://www.blognone.com/node/9421