วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ความคิดเห็น VDO ลิงก์

เพราะสามารถเข้าไปหาความรู้ใน google ทำให้รู้ความจริงว่าผีดิบมีจริง

งานOPAC

http://www.mediafire.com/?9t99wclw85cd6t8

งาน e-book

http://www.ebook.com/ebooks/Childrens/The_Dragonfly_Door

http://www.ebook.com/ebooks/Childrens/Lucy_Goosey

ข่าวสารประ จำสปดาห์ที่ 11

ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยในบล็อก Google Books พร้อมทั้งอธิบายเบื้องหลังวิธีนับให้ทราบด้วย โดยทางบริษัทเริ่มต้นด้วยการนิยามสิ่งที่เรียกว่า "หนังสือ" ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบทความ ผลงานลักษณะต่างๆ และรูปแบบของงานเขียนที่ปรากฎในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ จากนั้นระบบจะลบข้อมูลที่ซ้ำกันออก โดยใช้"ข้อมูล"ของข้อมูล (metadata) จากห้องสมุดต่างๆ และแคตะล็อกที่มีการคัดกรองจากพันล้านรายการเหลือ 600 ล้านรายการไม่ซ้ำกัน นอกจากนี้ยังมีการลดข้อมูลซ้ำด้วยอัลกอริธึมที่สามารถแยกแยะหนังสือที่ชื่อ ปกต่างกัน แต่เนื้อในเหมือนกันได้อีกด้วย ซึ่ง Google ยังคงปรับปรุงอัลกอริธึมของการทำงานให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แน่นอนว่า แต่ละครั้งของการนับก็จะได้คำตอบที่แตกต่างไปจากเดิมด้วย
"คำ ตอบเปลียนทุกครั้งที่มีการคำนวณใหม่ เนื่องจากการได้รับข้อมูลใหม่ที่มากกว่าเดิม เพื่อเข้าไปปรับปรุงอัลกอริธึม ซึ่งตัวเลขล่าสุดทีได้จากการใช้อัลกอริธึมดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 210 ล้านไตเติล" Google กล่าว อย่างไรก็ดี หลังจากเพิ่มอัลกอริธึมการลบข้อมูลซ้ำของหนังสือที่บันทึกในฟอร์แมตขนาดเล็ก เช่นไมโครฟิล์ม และแผนที่ออกไปตัวเลขที่ได้ล่าสุดอยู่ที่ 129,864,880 ไตเติ้ล ซึงในการกลไกการนับยังเลือกที่จะไม่ใช้หมายเลข serial ด้วย เนื่องจากมันทำให้ได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง เหตุเพราะแต่ละสถาบันจะมีการทำตัวเลขนี้แตกต่างกันไป Google ค่อนข้างมั่นใจว่า ตัวเลขล่าสุดคือ จำนวนไตเติ้ลของหนังสือทั้งหมดที่มีการตีพิมพ์ทั่วโลก สำหรับการนับจำนวนหนังสือทั้งโลกในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กต์ Google Books ที่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของผู้ถือครอง โดยเฉพาะเมื่อมันถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิตอลที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ไปเผย แพร่ได้ ตราบใดที่ Google ไม่สามารถอธิบายต่อศาลได้ว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร อีกทั้งโปรเจ็กต์ดังกล่าวยังเสี่ยงต่อการผูกขาดการค้าอีกด้วย
ที่มา http://news.itmoamun.com/update/546/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A5-.html

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10 google books

อนาคตของ Google Books
ข้อตกลงของเราร่วมกับผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน


เมื่อสามปีที่แล้ว The Authors Guild สมาคมผู้จัดพิมพ์แห่งอเมริกา ร่วมด้วยผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์จำนวนหนึ่งได้ฟ้องคดี Google Books ในนามกลุ่มบุคคล

วันนี้ เรามีความยินดีที่จะประกาศว่า เราได้ตกลงระงับคดีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทางด้านอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อนำหนังสือทั่วโลกมาเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น จากความร่วมมือดังกล่าว ทำให้เราบรรลุผลที่เกินกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะดำเนินการได้เพียงลำพัง คือการรักษาผลประโยชน์ของผู้แต่ง ผู้จัดพิมพ์ ผู้วิจัย และผู้อ่านอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาบ้างเพื่อให้ศาลอนุมัติและได้ข้อสรุปในขั้นสุดท้าย ณ ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เรานำมาแจ้งไว้คร่าวๆ นี้ จึงเป็นสิ่งที่เราหวังว่า คุณจะได้เห็นในอีกไม่ช้า
ที่มาhttp://books.google.com/intl/th/googlebooks/agreement/

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับเกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Searchทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search


เหรอ….สาเหตุก็มาจาก :-ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้นแต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุดแต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหนและนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Googleเวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูลรวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริงGoogle Book Search - http://books.google.com/เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลายกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุดแต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้นคนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้นGoogle คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ที่มาhttp://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=14549.0

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

หลังจาก Google Books/Book Search เผชิญแรงต้านจากสำนักพิมพ์อย่างต่อเนื่อง จนต้องยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้บรรดาสำนักพิมพ์ ตอนนี้กูเกิลกลับมาพร้อมกับแผนใหม่ที่ประนีประนอมกับสำนักพิมพ์มากกว่าเดิม แผนใหม่นี้คือเปิดเป็นร้านขาย e-Book แล้วแชร์รายได้กับสำนักพิมพ์มันเสียเลยร้านหนังสือออนไลน์นี้ชื่อว่า Google Editions ความต่างกับร้าน e-Book ในท้องตลาดอย่าง Amazon หรือ Barnes & Noble คือกูเกิลจะทำตัวเป็นทั้งร้านขายปลีกและขายส่งครับกรณีของร้านขายปลีก ลูกค้าเข้าไปซื้อหนังสือได้จากเว็บของกูเกิลโดยตรง รายได้จะถูกกูเกิลหักไป 37% ส่วนที่เหลือ 63% เข้าสำนักพิมพ์หรือเจ้าของหนังสือ กรณีขายส่ง กูเกิลจะทำตัวเป็นแหล่งเก็บหนังสือต้นทาง แล้วให้ร้านขายปลีก (เช่น Amazon) หรือเครื่องอ่าน e-Book (เช่น Sony) เอาหนังสือไปขายต่อได้ แบบนี้รายได้เข้าสำนักพิมพ์ 45% อีก 55% จะแบ่งกันระหว่างร้านขายปลีกกับกูเกิล ซึ่งกูเกิลบอกว่าขอกินส่วนแบ่งนิดเดียว Google Editions เปิดตัวต้นปี 2010 ระยะแรกจะมีหนังสือประมาณ 5 แสนเล่ม ยินดีเปิดรับผู้ขายปลีกทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Kindle, iPhone, Amazon, Barnes & Noble (แต่เจ้าไหนจะเอาด้วยบ้างยังไม่มีข้อมูล) กูเกิลบอกว่าตัวเองจะไม่ลงไปลุยในตลาดเครื่องอ่าน e-Book ทำตัวเป็นคนขายหนังสืออย่างเดียว ประเด็นเรื่อง DRM ยังไม่มีความชัดเจนครับ
ที่มา http://www.2poto.com/component/option,com_kunena/Itemid,140/catid,15/func,view/id,2366/

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

มีรายงานข่าวล่าสุดว่า Google เตรียมเปิดหน้าร้าน E-Book ใหม่ชื่อว่า Google Editions ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนศกนี้ โดยคาดว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการขยายทางเลือกใหม่ให้กับเหล่าผู้ผลิตและ จำหน่ายหนังสือประเภทดิจิตอลที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่Google ได้วางแผนเปิดร้านหนังสือ E-Book Online นั้น เท่ากับเป็นการเปิดศึกกับคู่แข่ง ในตลาดที่เปิดตัวก่อนหน้านี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Barnes & Noble และ Apple ที่เพิ่งเปิดตัวiBook บน iPad ซึ่ง การให้บริการของ Google Editions จะเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้เปิดอ่าน E-Book บนบราวเซอร์เป็นหลัก ซึ่งข้อดีของเรื่องนี้ก็คือ สามารถจัดการ DRM ได้ง่าย หรืออ่านผ่านแอพพลิเคชันทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น และ Google Editions จะสามารถทำงานได้ทั้งบน iPad, E-Reader หรือสมาร์ทโฟนอย่าง HTC Droid Incredible ตลอดจน Notebook

ที่มา http://beta.i3.in.th/content/view/2542

e-Journal

http://www.mediafire.com/?pm84o56r7orbksn

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งงาน e-books

http://e-bookmarket.com/index.php?keyword=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E&page=results&filetype=doc

http://e-bookmarket.com/index.php?keyword=%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E&page=results&filetype=doc&x=0&y=0

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6 google books

ไมโครซอฟท์ และยาฮูรวมตัวสู้กับ Google Books แต่อเมซอนยังสงวนท่าที


อเมซอน ไมโครซอฟท์ และยาฮูเตรียมเข้าร่วมกับ Open Book Alliance ซึ่งมีหน่วยงานที่จัดสร้างและดูแลห้องสมุดดิจิตอลออนไลน์โดยไม่หวังผลกำไรอย่าง Internet Archive เป็นแกนนำ ซึ่งเป็นความพยายามในป้องกันการผูกขาดการค้นหาหนังสือดิจิตอลออลไลน์อย่าง Google Books
ในขณะนี้ได้มีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นพันธมิตรแล้วหลายราย รวมถึงไมโครซอฟท์และยาฮู แต่ทางอเมซอนยังสงวนท่าทีเนื่องจาก Open Book Alliance ยังไม่ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สำหรับวันสิ้นสุดการตอบรับการร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าวคือวันที่ 4 ก.ย.ที่จะถึงนี้
นอกจากนั้น ในขณะนี้กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ กำลังดำเนินการสืบสวนการลงทุนของกูเกิล ในประเด็นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์เป็นจำนวนเงินสูงถึง 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รวมถึงประเด็นที่กูเกิลจะแบ่งส่วนแบ่งการขายหนังสือกับผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์ ว่าขัดกับกฏการป้องกันการผูกขาดหรือไม่ (ดูข่าวเก่า)
คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะ Google Books จะกระเทือนหรือเปล่า...

ที่มาhttp://www.blognone.com/node/12814

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5 google books

Google ไม่ยอมน้อยหน้าคู่แข่ง เตรียมเปิด E-Book Store Online เร็วๆนี้


มีรายงานข่าวล่าสุดว่า Google เตรียมเปิดหน้าร้าน E-Book ใหม่ชื่อว่า Google Editions ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนศกนี้ โดยคาดว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการขยายทางเลือกใหม่ให้กับเหล่าผู้ผลิตและ จำหน่ายหนังสือประเภทดิจิตอลที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการที่ Google ได้วางแผนเปิดร้านหนังสือ E-Book Online นั้น เท่ากับเป็นการเปิดศึกกับคู่แข่ง ในตลาดที่เปิดตัวก่อนหน้านี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Barnes & Noble และ Apple ที่เพิ่งเปิดตัว iBook บน iPad ซึ่ง การให้บริการของ Google Editions จะเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้เปิดอ่าน E-Book บนบราวเซอร์เป็นหลัก ซึ่งข้อดีของเรื่องนี้ก็คือ สามารถจัดการ DRM ได้ง่าย หรืออ่านผ่านแอพพลิเคชันทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น และ Google Editions จะสามารถทำงานได้ทั้งบน iPad, E-Reader หรือสมาร์ทโฟนอย่าง HTC Droid Incredible ตลอดจน Notebook


ที่มาhttp://beta.i3.in.th/content/view/2542

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานประจำสัปดาห์ที่ 4 google books

กูเกิลยอมจำนน จ่ายค่าหนังสือใน Google Book Search ให้สำนักพิมพ์

บริการ Google Book Search ที่กูเกิลทำการสแกนหนังสือในห้องสมุดเอามาเก็บไว้ในเว็บที่เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 4 ปีนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นบริการที่ดีสำหรับผู้ใช้ แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาคดีความกับสำนักพิมพ์ต่างๆ มานานแล้ว (ข่าวเก่า) ในวันนี้กูเกิลออกมาจำนนยอมจ่ายเงินค่าหนังสือทั้งหมดให้กับสำนักพิมพ์ทั้งหลาย
เงินจำนวนดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้หนังสือทั้งหมดสามารถอยู่ใน Google Book Search ได้ต่อไป ในข้อตกลงกับบริษัทหนังสือ กูเกิลยังจะสามารถขายหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้หนังสือที่หาซื้อฉบับจริงไม่ได้ สามารถที่จะซื้อแบบออนไลน์ได้ด้วย นอกจากนี้ห้องสมุดต่างๆ ยังสามารถที่จะซื้อหนังสือฉบับเต็มทั้งหมดที่อยู่บน Google Book Search แบบออนไลน์เพื่อให้สมาชิกห้องสมุดเข้าชมได้ด้วย
"บริษัทนี้ (กูเกิล) ตั้งมาเพื่อทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว" Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิลกล่าว
อย่างไรก็ดีข้อตกลงการขายหนังสือนี้อาจไม่รวมถึงประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา แต่กูเกิลก็กำลังพิจารณาขยายไปยังประเทศอื่นๆ ครับ (ผมคิดว่าน่าจะถึงประเทศไทยด้วย.. จะได้ไม่ต้องแบก textbook หรือดาวน์โหลด pdf แบบเถื่อนๆ ต่อไป) ที่มาhttp://www.blognone.com/node/9421

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารสัปดาห์ที่ 3

สญญาทำขอตกลงยตคดของ Google Books
ถ้าคุณเป็นผู้แต่ง ผู้จัดพิมพ์ หรือผู้ถือลิขสิทธิ์ โปรดไปที่ เว็บไซต์การจัดการข้อตกลง เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
อนาคตของ Google Books
ข้อตกลงของเราร่วมกับผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน
เมื่อสามปีที่แล้ว The Authors Guild สมาคมผู้จัดพิมพ์แห่งอเมริกา ร่วมด้วยผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์จำนวนหนึ่งได้ฟ้องคดี Google Books ในนามกลุ่มบุคคล
วันนี้ เรามีความยินดีที่จะประกาศว่า เราได้ตกลงระงับคดีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทางด้านอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อนำหนังสือทั่วโลกมาเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น จากความร่วมมือดังกล่าว ทำให้เราบรรลุผลที่เกินกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะดำเนินการได้เพียงลำพัง คือการรักษาผลประโยชน์ของผู้แต่ง ผู้จัดพิมพ์ ผู้วิจัย และผู้อ่านอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาบ้างเพื่อให้ศาลอนุมัติและได้ข้อสรุปในขั้นสุดท้าย ณ ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เรานำมาแจ้งไว้คร่าวๆ นี้ จึงเป็นสิ่งที่เราหวังว่า คุณจะได้เห็นในอีกไม่ช้า
Book Search ในปัจจุบัน
Book Search จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
หนังสือสามประเภท
Book Rights Registry
ห้องสมุดและมหาวิทยาลัย
สู่อนาคต

Book Search ในวันนี้
ขณะนี้ คุณสามารถค้นหาเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือกว่าเจ็ดล้านเล่ม จาก Google Books

เมื่อใดก็ตามที่คุณค้นหาเว็บไซต์ผ่าน Google จะมีการค้นหาดัชนีหนังสือของเราด้วย เรื่องยอดนิยมใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์การค้นหาของคุณจะปรากฏขึ้น และการคลิกที่ผลลัพธ์จะนำคุณไปสู่หน้าที่เกี่ยวข้องในหนังสือ ซึ่งคุณสามารถเรียกดูหน้าอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีกเล็กน้อย และคุณจะได้ทราบว่าจะยืมหรือซื้อหนังสือนั้นได้จากที่ใดบ้าง

ผลลัพธ์การค้นหาหนังสือที่ Google.com

หน้าหนังสือใน Book Search
หนังสือใน Google Books มาจากสองแหล่งด้วยกัน
โครงการห้องสมุด
เราเป็นพันธมิตรกับ ห้องสมุดที่มีชื่อเสียง ทั่วโลก เพื่อรวบรวมหนังสือที่มีอยู่ของห้องสมุดเหล่านั้นมาไว้ใน Book Search สำหรับหนังสือในโครงการห้องสมุดที่ยังมีลิขสิทธิ์ เราจะแสดงผลลัพธ์เหมือนกับบัตรรายการเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ และโดยทั่วไปแล้ว จะแสดงข้อความตัวอย่างสั้นๆ จากหนังสือนั้นให้คุณเห็นคำค้นหาในปริบท
อย่างไรก็ตาม สำหรับหนังสือหมดลิขสิทธิ์แล้ว คุณสามารถอ่านและดาวน์โหลดได้ทั้งเล่ม

มุมมองตัวอย่างของหนังสือที่ยังมีลิขสิทธิ์

มุมมองทั้งเล่มของหนังสือที่หมดลิขสิทธิ์

หน้าตัวอย่างของหนังสือใน Partner Program
Partner Program
เรายังเป็นพันธมิตรกับผู้จัดพิมพ์และผู้แต่งกว่า 20,000 ราย เพื่อให้คุณสามารถค้นพบหนังสือเหล่านี้ได้ใน Google ด้วย คุณสามารถพลิกดูหน้าตัวอย่างจากหนังสือเหล่านี้ได้เล็กน้อย เหมือนเช่นที่เปิดดูได้ในร้านหนังสือหรือห้องสมุด นอกจากนี้ ยังมีลิงก์ไปยังห้องสมุดและร้านหนังสือที่คุณสามารถยืมหรือซื้อหนังสือเล่มดังกล่าวได้ด้วย
เรียนรู้เพิ่มเติมและลงทะเบียนสมัคร·Partner Program ที่นี่
Book Search จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เมื่อข้อตกลงนี้ได้รับการอนุมัติแล้ว Google และพันธมิตรในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะสามารถเพิ่มจำนวนหนังสือเพื่อให้คุณค้นหา ดูตัวอย่าง และซื้อหนังสือผ่านทาง Google ได้อีกเป็นจำนวนมาก โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
หนังสือที่ไม่มีการจัดพิมพ์ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน เราสามารถแสดงข้อความตัวอย่างได้เพียงสั้นๆ สำหรับหนังสือส่วนใหญ่ที่ยังมีลิขสิทธิ์ซึ่งเราได้สแกนมาจากโครงการห้องสมุดของเรา เนื่องจากหนังสือเหล่านี้โดยส่วนใหญ่ไม่มีการจัดพิมพ์ในปัจจุบันแล้ว หากต้องการอ่าน คุณจำเป็นต้องไปค้นหาที่ห้องสมุดหรือร้านหนังสือมือสอง

มุมมองตัวอย่าง

แสดงตัวอย่าง
มุมมองทั้งเล่มแบบชำระเงิน
ภายใต้ข้อตกลงนี้ เราจึงนำหนังสือมากมายที่ไม่มีการจัดพิมพ์ในปัจจุบันมาแสดงตัวอย่างให้ดู ให้อ่าน และซื้อได้ในสหรัฐอเมริกา การช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือที่ไม่จัดพิมพ์ในปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง คือหนึ่งในเหตุผลหลักที่เราเริ่มต้นโครงการ และเราจะยินดีเป็นที่สุดหากเราและผู้แต่ง ห้องสมุด และพันธมิตรผู้จัดพิมพ์สามารถมีส่วนช่วยปกป้องประวัติศาสตร์ทางด้านวัฒนธรรมของมนุษยชาติด้วยวิธีนี้
การเข้าดูหนังสือ
ข้อตกลงนี้สร้างทางเลือกใหม่สำหรับการอ่านหนังสือทั้งเล่ม (ซึ่งในที่สุดแล้ว ก็คือจุดประสงค์ของการจัดทำหนังสือนั่นเอง)
การเข้าดูออนไลน์
เมื่อข้อตกลงนี้ได้รับการอนุมัติ คุณจะสามารถซื้อสิทธิ์การเข้าดูออนไลน์ได้ทั้งเล่มสำหรับหนังสือนับล้านๆ เล่ม ซึ่งหมายความว่า คุณจะสามารถอ่านหนังสือได้ทั้งเล่มจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพียงแค่ล็อกอินเข้าสู่บัญชี Book Search ของคุณ หนังสือเล่มนั้นก็จะยังคงอยู่บนชั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของคุณ เพื่อให้กลับมาอ่านต่อได้เมื่อใดก็ตามที่ต้องการ
การเข้าถึงห้องสมุดและมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ เราจะเสนอให้ห้องสมุด มหาวิทยาลัย และองค์กรอื่นๆ สามารถซื้อสิทธิ์การเป็นสมาชิกโดยสถาบันได้ เพื่อให้ผู้ใช้มีสิทธิ์เข้าดูหนังสือทั้งเล่มได้นับล้านๆ เล่มและในขณะเดียวกันก็มีการจ่ายเงินค่าบริการนี้ให้แก่ผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ นักศึกษาและนักวิจัยจะมีสิทธิ์เข้าถึงห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมหนังสือต่างๆ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ ห้องสมุดสาธารณะและห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจะสามารถให้บริการด้วยเครื่องปลายทางให้ผู้อ่านเข้าดูหนังสือทั้งเล่มที่ไม่มีการจัดพิมพ์ในปัจจุบันได้ฟรีนับล้านๆ เล่ม
การซื้อหรือยืมหนังสือรูปเล่มจริง
ท้ายที่สุดแล้ว หากหนังสือที่ต้องการมีจำหน่ายในร้านหนังสือหรือห้องสมุดใกล้บ้านคุณ เรายังมีการแนะนำร้านที่คุณสามารถไปซื้อหนังสือเล่มนั้นได้ดังเช่นที่เราเคยทำเสมอมา
ผู้ใช้ในต่างประเทศ
เนื่องจากข้อตกลงนี้เป็นการไกล่เกลี่ยคดีฟ้องในประเทศสหรัฐฯ จึงมีผลโดยตรงเฉพาะต่อผู้ใช้ที่เข้าถึง Book Search ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น สำหรับประเทศอื่นแล้ว การใช้งาน Book Search จะยังคงเหมือนเดิม สำหรับก้าวต่อไป เราหวังว่าจะได้ร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมระดับโลกและผู้ถือลิขสิทธิ์ที่เป็นรายบุคคล เพื่อเพิ่มประโยชน์ของข้อตกลงให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก
ที่มาhttp://books.google.com/intl/th/googlebooks/agreement/